สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
NATIONAL RESEARCH COUNCIL OF THAILAND
ขนาดอักษร
A
A
A
เปลี่ยนการแสดงผล
C
C
C
หน้าหลัก
รู้จัก วช.
เกี่ยวกับ วช.
ประวัติความเป็นมา
ทำเนียบผู้บริหาร วช.
ทำเนียบประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ
พ.ร.บ. และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ตราสัญลักษณ์ วช.
ถามตอบเรื่องทุน วช.
ติดต่อหน่วยงาน วช.
การบริหาร
คณะผู้บริหาร วช.
อำนาจหน้าที่ วิสัยทัศน์ ภารกิจ
โครงสร้างขององค๋กร
นโยบายและยุทธศาสตร์องค์กร
เกี่ยวกับดีซีไอโอ
แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่าย
การบริหารทรัพยากรบุคคล
นโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์ วช.
นโยบายเว็บไซต์ของ วช.
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
แนวปฏิบัติในการเผยแพร่ข้อมูล
คำสงวนลิขสิทธิ์ (Copyright)
การปฏิเสธการรับผิด (Disclaimer)
เจตจำนงสุจริต วช. NRCT Zero Corruption
คำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
แจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
แผนผังเว็บไซต์
ร่วมงานกับ วช.
ร่วมงานกับ วช.
บริการ
e-Service
ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS)
ระบบคำขอรับใบอนุญาตใช้-ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ (Thaiiacuc)
ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย TNRR
ระบบห้องสมุดงานวิจัยสำหรับสาธารณะ Thai-Explore
ระบบบริการรหัส DOI
ระบบประเมินความพร้อมของผลงานวิจัยฯ IRAS
ระบบยื่นขอขึ้นบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย
ระบบบัญชีข้อมูล Data Catalog NRCT
ศูนย์วิจัยยุทธศาสตคร์
ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ และศูนย์กลางด้านความรู้
ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน
ศูนย์จัดการความรู้การวิจัย
มาตรฐานการวิจัย
แหล่งรวมข้อมูลมาตราฐานการวิจัย
Mobile Application
Application NRCT
ข้อมูลข่าวสาร
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวทุนวิจัย
ข่าวกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
เอกสารเผยแพร่
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
กลั่นกรองงบประมาณ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
จัดซื้อจัดจ้าง
จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลข่าวสาร วช.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร วช. OIC
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม
องค์กรคุณธรรม
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
การขับเคลื่อนจริยธรรม
คู่มือประชาชน
ข้อมูลสาธารณะ ITA 2567
ข้อมูลสาธารณะ ITA 2568
คลังความรู้ วช.
Social Media
NRCT YouTube
NRCT Facebook
NRCT Twitter
@Line.NRCT
วีดีทัศน์แนะนำ วช.
สื่อเพื่อการเผยแพร่
กฤตภาคข่าว วช.
รางวัลแห่งความภาคภูมิ
รางวัลการวิจัยแห่งชาติ
มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ
NRCT Open House
จดหมายข่าว วช.
รายงานสารสนเทศ
รายงานประจำปี
รายงานการให้บริการ
ดัชนีการวิจัยของประเทศ
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal)
ระบบสารสนเทศ
หลักสูตรนวัตกรการสื่อสาร หรือหลักสูตร Commu Max
แบบเรียนออนไลน์ Elearnig-Necast
แบบเรียนออนไลน์ Lab Safety NRCT
ลงทะเบียนคลังข้อมูลงานวิจัยไทย TNRR
ระบบ NRIIS ลงทะเบียนผู้ใช้ใหม่
ระบบลงทะเบียนผู้ขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์
สื่อการเรียนรู้
คู่มือออนไลน์ NRCT
กฎหมายน่ารู้
Infographic
Ebook
Future Thailand
Q&A คำถาม-ตอบ
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังความรู้ วช.
ข่าวกิจกรรม
วช. ร่วมกับ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ
วช. ร่วมกับ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ
วันที่ 30 พ.ย. 2023
56 Views
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมเสวนา เรื่อง “ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PM2.5 เรื่อง สุขภาพ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน และมอบหมายให้ นางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมเสวนา โดยมี ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate – HTAPC) กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้แทนหน่วยงาน เข้าร่วมการประชุมเสวนา ณ ห้องประชุม 1 กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กรุงเทพมหานคร
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มเรื่อง Haze Free Thailand และ ปัญหาฝุ่น PM2.5 มาอย่างต่อเนื่อง และศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate – HTAPC) ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพในปัจจุบัน จึงร่วมกันจัดการประชุมเสวนา “ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PM2.5 เรื่องสุขภาพ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และการดูแลสุขภาพ เพื่อรับมือกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
การแลกเปลี่ยนประเด็นการเสวนา นำทีมโดย รองศาสตราจารย์.ดร.นายแพทย์ บุญรัตน์ ทัศนีย์ไตรเทพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กมล แก้วกิติณรงค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และแพทย์หญิง วีรนุช เชาวกิจเจริญ โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร ได้พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีความแตกต่างกันตามแหล่งกำเนิดในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่หลากหลาย ทั้งด้านแหล่งที่มาของมลพิษ ด้านลักษณะภูมิประเทศ ด้านสภาพอุตุนิยมวิทยาและสภาวะอากาศ รวมทั้งความหนาแน่นของจำนวนประชากร ซึ่งฝุ่น PM2.5 ส่งผลกระทบต่อร่างกาย เกิดการระคายเคืองต่อดวงตา แสบจมูก และส่งผลต่อผิวพรรณ และหากฝุ่น PM2.5 สะสมอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานาน มีโอกาสก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหอบหืด นอกจากนี้ฝุ่น PM2.5 มีลักษณะขรุขระจึงมีโอกาสพาสารอื่นติดมาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้นหากสะสมในร่างกาย
โดยจุดมุ่งหมายการเสวนาในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันเสนอแนวทางการเตรียมรับมือด้านสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นข้อมูลแก่ประชาชนในการเฝ้าระวัง การเผชิญเหตุเมื่อปริมาณฝุ่น PM2.5 สูงขึ้น เพื่อลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ ข้อควรปฏิบัติ เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ในช่วงเวลาวิกฤตของพื้นที่ การจัดการพื้นที่ SAFE ZONE หรือพื้นที่ปลอดฝุ่น รวมถึงร่วมกันเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการฝุ่น PM2.5 ที่เหมาะสมกับรายบุคคล ทั้งนี้ วช. และศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ จะนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช. ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชน เฝ้าระวัง ป้องกันฝุ่น PM2.5 สร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก อันจะนำไปสู่ สุขภาพ คุณภาพ ชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต
อัลบั้มภาพ
คุณต้องการค้นหาข้อมูลอะไร ?